วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย



1.ประเด็นที่อ่านแล้วน่าสนใจ
                     จากการที่ได้ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมา ทุกๆประเด็นมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็นที่ส่งผลประโยชน์ให้ประเทศชาติ บ้านเมือง และประชาชนได้อยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุดมีดังต่อไปนี้

๑.การคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ให้กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม

  •          เพิ่มประเภทสิทธิและเสรีภาพมากขึ้น
  •          ทำให้การใช้สิทธิและเสรีภาพง่ายขึ้นกว่าเดิม

                            -มีประสิทธิภาพ           -มีมาตรการคุ้มครองชัดเจน
  •           ทำให้แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความชัดเจน รอบด้าน และผูกพันรัฐมากกว่าเดิม
  •           ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานของท้องถิ่นและกระจายอำนาจให้แก่ อปท.เพิ่มขึ้น

๒.การลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม
  •          เสริมอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชน
  •         จำกัดการผูกขาดและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาล
  •         ให้ สส.และ สว. เป็นอิสระจากการครอบงำของพรรคการเมือง เพื่อทำหน้าที่ผู้แทนปวงชนได้เต็มที่

๓.การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม
  •      บัญญัติหมวดคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ชัดเจน
  •         กำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง
  •        การแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีความเข้มข้นขึ้น
  •        ให้สส. สว. นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาได้ง่ายขึ้น

๔.การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  •        ปรับปรุงระบบการสรรหาองค์กรตรวจสอบ
  •        ปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบการทำงานขององค์กรตรวจสอบดียิ่งขึ้น
  •        จัดให้มีระบบตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ


2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง


                     หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
                     ส่วนที่8  สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
·                    มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐ
จะต้อง จัดให้อย่าง   ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
                  มาตรา  50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

                  1. รัฐสภา  เช่น รัฐสภาประกอบด้วยอะไรบ้าง
                  2. สภาผู้แทนราษฎร   เช่น  สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน  ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติอย่างไร  บุคคลใดบ้างที่ห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง  คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอย่างไร เป็นต้น
                  3. สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา  เช่น  บุคคลย่อมมีสิทธิในการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปีตามที่รัฐจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
                  4.วุฒิสภา  เช่น  วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน   คุณสมบัติใดบ้างที่สามรถมีสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
                  5. สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิ์การจากรัฐ  เช่น  บุคคลที่มีอายุเกินกี่ปีที่ไม่มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ  ที่มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องรู้ เพราะเราได้เกิดมาในประเทศไทย ความรู้เกี่ยวกับเรื่องรัฐธรรมนูญจึงนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งนักเพราะรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือสนับสนุนระบอบการปกครอง ไม่ว่าจะปกครองด้วยระบบใดก็ตาม ในระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญจะเป็นเครื่องมือจำกัดอำนาจของรัฐและผู้ปกครองให้อยู่ภายในขอบเขต จัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมืองการปกครอง กำหนดบทบาทในการตรวจสอบถ่วงดุลกัน และส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่วนระบบเผด็จการ รัฐธรรมนูญก็เป็นเครื่องมือในการกำกับแนวปฏิบัติของรัฐ ผู้ปกครองและประชาชนให้เป็นไปตามอุดมการณ์ทางการเมือง

5. นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ  เพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มคัดค้าน  ขอให้นักศึกษาบอกเหตุผลที่จะต้องแก้ไข

                 หลังจากประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.. 2475 มาถึงวันนี้เป็นเวลา 78 ปี ประเทศไทยได้มีการใช้รัฐธรรมนูญไปแล้ว 18 ฉบับทั้งฉบับปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับก็มีเหตุผลแตกต่างกันไปในแต่ละครั้ง ซึ่งในความคิดเห็นของดิฉันคิดว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะว่า ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปสังคมก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงดังนั้นการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อจะได้จัดระเบียบการปกครองไปในแนวทางที่พัฒนาที่ดียิ่งขึ้น และเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญสักกี่ครั้งแต่ถ้าคนใช้อำนาจนั้นเป็นคนที่คิดแสวงหาประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนร่วม ยังไงก็ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่จบไม่สิ้น เพราะประชาชนบางกลุ่มไม่ได้รับความยุติธรรมและจะต้องออกมาคัดค้านอย่างแน่นอน

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกันและนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร สภานิติบัญญัติมีภาวะที่จะต้องดำรงอยู่อย่างไร   มีความมั่นคงที่จะมีความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว

1.  ฝ่ายนิติบัญญัติ   หรือรัฐสภา  นอกจากจะมี อํานาจด้านนิติบัญญัติ แล้ว ยังมีอํานาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร  หรือรัฐบาลให้เป็นไปตามที่ฝ่ายบริหารได้ แถลงนโยบายต่อรัฐสภา  หรือเมื่อฝ่ายนิติบัญญัติ เห็นว่าประชาชนได้รับความเดือดร้อน  หรือประชาชนมี ความต้องการความช่วยเหลือ   แต่ฝ่ายบริหารยังไม่เข้าไปแก้ปัญหานั้น  ๆให้ประชาชน  สมาชิกผู้แทนราษฎร (ส.ส.)หรือวุฒิ สมาชิก (สว.) อาจยื่นกระทู ถามฝ่ายบริหารในสภาของต้นสังกัดอยู่ได้  แต่  ถ้าฝ่ายบริหารตําแหน่งใด ๆ ตั้งแต่นายกรับมนตรี  หรือรัฐมนตรีว่าการ  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงใดหรือหลายๆ   กระทรวง ดําเนินการบริหารงานที่ฝ่ายนิ ติบัญญัติ เห็นว่าผิดพลาดจนอันอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สามารถเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่ งในสี่ของสมาชิกทั้งหมดขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือ เข้าชื่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่ งในห้าของสมาชิกทั้งหมดขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ  รัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ซึ่งถ้าเสียงส่วนใหญ่ ลงมติไม่ไว้วางใจให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีท่านใดจะทําให้รัฐบาล หรือรัฐมนตรีผู้นั้นพ้นสภาพจากตําแหน่งนั้นทันที

2.  ฝ่ายบริหาร  นอกจากมีอํานาจในการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว   ยังมีอํานาจในการออกกฎหมายบางชนิดที่จําต้องใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน  เช่น  พระราชกําหนด  พระราชกฤษฎีกา  กฎกระทรวงเป็นต้นและยังมี อํานาจที่จะ ควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญได้ให้อํานาจออกเป็นพระราชกฤษฎีกายุบสภาคืนอํานาจให้แก่ ประชาชน  เพื่อให้มีการเลือกตั้ งใหม่ แก่ฝ่ายบริหาร ถ้าประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐบาลทําหน้าที่ถูกต้องแล้ว  ประชาชนก็จะเลือกพรรคการเมืองที่ เคยเป็นรัฐบาลนั้นเข้ามาเป็นผู้แทนของตนจํานวนมาก  พรรคการเมืองนั้นก็จะมีสิทธิจัดตั้ งรัฐบาลใหม่   แต่ถ้าประชาชนทั้ง ประเทศส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐบาลเดิมทําหน้าที่ บริหารไม่ถูกต้อง  ประชาชนก็จะเลือกพรรคการเมืองที่เคยเป็นฝ่ายค้าน เข้ามาเป็นผู้แทนของตนจํานวนมาก  พรรคการเมืองที่เคยเป็นฝ่ายค้านก็มีสิทธิในการจัดตั้ งรัฐบาลบริหารประเทศ

3.  ฝ่ายตุลาการ  เป็นฝ่ายเดียวที่มีความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ แต่ก็ต้องพิจารณา
พิพากษาตามตัวบทกฎหมายต่าง ๆที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารได้ บัญญัติขึ้นใช้ในขณะนั้น  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น