วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่5


1.พรบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้และบังคับเมื่อใด
พรบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2546 และบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2546
2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ใครบ้าง
ครู ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัตินี้
3.คุรุสภามีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง
มาตรา 8 กำหนดวัตถุประสงค์ ของคุรุสภาไว้ ดังนี้
1. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับ ดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
2. กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
3. ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
4.อำนาจหน้าที่คุรุสภา มีอะไรบ้าง
กำหนดให้คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1.กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
2.ควบคุม ความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
3.ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
4.พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
5.สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
6.ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
7.รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่าง ๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
8.รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
9.ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
10.เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
11.ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย
(ก) การกำหนดลักษณะต้องห้ามมาตรา 13
(ข) การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และการรับรองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
(ค) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต
(ง) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
(จ) จรรยาบรรณของวิชาชีพและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(ฉ) มาตรฐานวิชาชีพ
(ช) วิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(ซ) องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา
(ฌ) หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา
(ญ) การใด ๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
12.ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ
13.ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ หรือการออกกฏกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่าง ๆ
14.กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
15.ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา ข้อบังคับของคุรุสภาตาม (11) นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี และเมื่อได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาและให้ใช้บังคับได้
5. คุรุสภาอาจมีรายได้มาจากแหล่งใด
คุรุสภาอาจมีรายได้ ดังนี้
(๑) ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติ
 (๒) เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
(๓) ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของคุรุสภา
(๔) เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่คุรุสภา
 (๕) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔)
  รายได้ของคุรุสภาไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วย
เงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ รวมทั้งไม่อยู่ในข่ายการบังคับตามกฎหมายภาษี
อากร
6. คณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน ใครเป็นประธาน
คณะกรรมการคุรุสภามีทั้งหมด 37 คน ประกอบด้วย
 (๑) ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือกฎหมาย
 (๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการบริหารการศึกษา การอาชีวศึกษา การศึกษาพิเศษ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกฎหมายด้านละหนึ่งคน ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นครู ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษา ไม่น้อยกว่าสามคน
(๔) กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษา ซึ่งเลือกกันเองจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำนวนสามคน และจากสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจำนวนหนึ่ง
 (๕) กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งเลือกตั้งมาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจำนวนสิบเก้าคน ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น และมาจากสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา สถาบันอาชีวศึกษา สถานศึกษาเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามสัดส่วนจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และให้เลขาธิการคุรุสภาเป็นเลขานุการซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา และหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา              
7. กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้องประกอบด้วย
กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้อง   มีใบอนุญาตและไม่เคยถูกพักใช้ / ปฏิบัติการสอนมาไม่น้อยกว่า 10 ปี / ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 ไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะชำนาญการ
8. คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ อะไร ได้แก่
คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่  6 ข้อ สำคัญ คือ พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
9. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีกี่คน ประธานคือใคร หน้าที่สำคัญ
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมี 17 คน ประธาน คือ รมต.แต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภา หน้าที่สำคัญพิจารณาการออกใบอนุญาต พักใช้หรือเพิกถอน
10. ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่เกิน
ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ ไม่เกิน 65 ปี
11. ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วยใคร ยกตัวอย่างประกอบ
ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูประกอบด้วย วิทยากร ผู้สอนตามอัธยาศัย ครูฝึกสอน ผู้บริหารระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา ครูผู้บริหารระดับปริญญาทั้งรัฐและเอกชน
12. คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง
คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ / มีวุฒิทางการศึกษา / ผ่านการสอนในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านตามคุรุสภากำหนด
13. หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องจัดกระทำอย่างไร
 หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้อง อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการคุรุสภา ภายใน 30 วัน
14. มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย มาตรฐานอะไร
 มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย   มาตรฐานความรู้และประสบการณ์ / มาตรฐานการปฏิบัติงาน / มาตรฐานการปฏิบัติตน
15. มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วยอะไร
 มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วย  จรรยาบรรณต่อตนเอง , ต่ออาชีพ, ต่อผู้รับบริการ, ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ, ต่อสังคม
16. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย มีหน้าที่
 คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย มีหน้าที่  ยก/ตัก/ภาค/พัก/เพิก คือ ยกข้อกล่าวหา / ตักเตือน / ภาคทัณฑ์ / พักใช้ใบอนุญาต ไม่เกิน 5 ปี / เพิกถอนใบอนุญาต
17.  สมาชิกคุรุสภามี กี่ประเภทประกอบด้วย
สมาชิกคุรุสภามี  2 ประเภท คือ สามัญและกิตติมศักดิ์ (เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งโดยมติเอกฉันท์
18. สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดอย่างไร
สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุด 5 วิธีคือ ตาย ลาออก คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้นถอดถอนกิตติมศักดิ์ ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
19สกสค. ย่อมาจาก อะไร
สกสค.  ย่อมาจาก  คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดีภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
20.  สกสค. มีกี่คน ใครเป็นประธาน
สกสค. มี 23 คน รมต.ศธ. นิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
21. ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการอย่างไร
 ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
22.  ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษเป็นอย่างไร
 ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
23. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือ ใคร
 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ. สภาครูฯ 2546 คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
24.  อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นอย่างไร
ต่อ/แทน , รอง, นาญ , ขึ้น = 200 , 300 , 400 . 500 บาท หมายถึง ค่าต่อใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาต 200 บาท, ใบรับรอง 300 บาท, แสดงความชำนาญการ 400 บาท, ขึ้นทะเบียนใหม่ 500 บาท
2.ให้นักศึกษาศึกษามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย
1.นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับวิชาชีพอย่างไร
คำว่า วิชาชีพ มาจากคำสนธิ คือ วิชา และ อาชีพ ถ้าสังเกตแล้วจะเห็นว่าวิชาชีพนั้นไม่ใช่อาชีพธรรมดา แต่ประกอบด้วย วิชา ด้วย ดังนั้นอาชีพทุกอาชีพไม่ได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพทั้งหมด มีเพียงบางอาชีพเท่านั้นที่ได้รับเกียรติถือว่าเป็นวิชาชีพ วิชาชีพหมายถึง งานที่ตนได้ปฏิญาณว่าจะอุทิศตัวทำไปตลอดชีวิต เป็นงานที่ต้องได้รับการอบรมสั่งสอนมานาน เป็นงานที่มีขนบธรรมเนียมและจรรยาของหมู่คณะโดยเฉพาะได้รับค่าตอบแทนในลักษณะค่าธรรมเนียม หรือ ค่ายกครู มิใช่ค่าจ้าง
2.วิชาชีพควบคุมท่านเข้าใจอย่างไร
ควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชนโดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา  ได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างเพียงพอ มีอิสระในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ  รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพ หรือองค์กรวิชาชีพ เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์จรรโลงวิชาชีพ
3.การประกอบวิชาชีพควบคุมมีข้อจำกัดอย่างไร
1. ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด ผู้ไม่ได้รับอนุญาต หรือสถานศึกษาที่รับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะได้รับโทษตามกฎหมาย
2. ต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ และความชำนาญการตามระดับ คุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
 3. บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีสิทธิ กล่าวหา หรือกรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และบุคคลอื่น มีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
 4. เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย ชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้
4.มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาหมายถึงอะไร พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพกี่ด้านประกอบด้วยอะไรบ้าง
 ความหมายของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพสามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม นั้นเนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพกำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย
                1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
                2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชำนาญเฉพาะด้านและความชำนาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญ เพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่นก็คือการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
                3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกำหนดเป็นข้อบังคับต่อไป หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ยกข้อกล่าวหา  ตักเตือน  ภาคทัณฑ์  พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี   เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
5.ท่านเข้าใจมาตรฐานความรู้และประสบการณ์อย่างไร สรุปและอธิบาย
 มาตรฐานความรู้มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้
1. ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู              
2. การพัฒนาหลักสูตร
3. การจัดการเรียนรู้                           
4. จิตวิทยาสำหรับครู
5. การวัดและประเมินผลการศึกษา            
6. การบริหารจัดการในห้องเรียน
7. การวิจัยทางการศึกษา                      
8. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
9. ความเป็นครู
6.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
มีความคล้ายกันเนื่องจากมาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนการ พัฒนาฝีมือแรงงานด้วยระบบการฝึกตามความสามารถเป็นรูปแบบการฝึกที่มีการวาง แผนการฝึกระหว่างผู้รับการฝึกและผู้สอนโดยออกแบบการเรียนรู้ให้ยืดหยุ่นตาม ความต้องการและความสามารถของผู้รับการฝึก  สภาพการฝึกเน้นการปฏิบัติตามกิจกรรมหรืองานที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น