วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่1



ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ

1. "กฎหมาย"
     หมายถึง บรรทัดฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบแบบแผน ซึ่งผู้มีอำนาจทางการปกครองบ้านเมืองได้กำหนดขึ้น เพื่อบังคับให้บุคคลปฏิบัติตามหรือห้ามมิให้กระทำ หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามบทบัญญัติ

2. "นิติบุคคล"
หมายถึง ไม่ใช่บุคคลธรรมดามีสถานะเป็นองค์กรห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทสมาคมหรือวัดก็มีสถานะเป็นนิติบุคคล

3. "นิติกรรม"
     หมายถึง การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ

4. "บรรทัดฐาน"
      หมายถึง ค่านิยมที่ยึดถือต่อกันมา

5. "รัฐธรรมนูญ"
      หมายถึง กฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ ถ้าแปลความหมายของคำจะหมายถึงการปกครองรัฐอย่างถูกต้องเป็นธรรม

6. "มาตรา"
     หมายถึง บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับ

7. "ราชกิจจานุเบกษา"
     คือ หนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์โดยสำนักงานราชกิจจานุเบกษาสำหรับลงประกาศเกี่ยวกับกฏหมาย กฏ ระเบียบข้อบังคับตลอดจนประกาศของกระทรวงทบวงกรมต่างๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทราชกิจจานุเบกษา

8."พุทธบัญญัติ"
     หมายถึง กฎระเบียบ ข้อบังคับที่พระพุทธเจ้าตั้งไว้เป็นพุทธอาณาคือระเบียบการปกครองภิกษุและภิกษุณีที่เรียกโดยทั่วไปว่าพระวินัย

9. "ดุลพินิจ"
     หมายถึง  คำว่า ดุลพินิจ ประกอบด้วยคำว่า ดุล กับคำว่า พินิจ. ดุล แปลว่า เท่ากัน, เสมอกัน, เท่าเทียมกัน. พินิจ แปลว่า การพิจารณา. ดุลพินิจ จึงมีความหมายว่า การวินิจฉัยที่สมควร, การพิจารณาด้วยความเที่ยงธรรม.คำว่า ดุลพินิจ ใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับความยุติธรรมในการตัดสิน เช่นผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจพิจารณาหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์และจำเลยเสนอ แล้วจึงตัดสินคดีอย่างเที่ยงธรรม. เมื่อเขาทำผิดก็ต้องยอมรับโทษ

10."สิทธิมนุษยชน" 
       หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นมนุษย์ ซึ่งประกอบไปด้วยสิทธิตามธรรมชาติและสิทธิที่มีกฎหมายรับรอง

ที่มา :สืบค้นจาก http://www.lawamendment.go.th/ 
   [ 10 พฤศจิกายน 2555 ]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น