1.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อใด
และมีผลบังคับใช้เมือใด
พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อ9 ตุลาคม 2546
และมีผลบังคับใช้วันที่ 10 ตุลาคม 2546
2.ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือใคร
นายกรัฐมนตรี
3.เหตุผลที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เพราะอะไร
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
โดยที่มีการปฏิรูประบบราชการ
เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ
และให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ซึ่งการบริหารราชการและการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการนี้
ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็น
และประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ รวมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
4.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีกี่หมวดกี่มาตรา
ประกอบด้วยอะไรบ้าง
1. บทนิยาม มาตรา 1-5
2. หมวด1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาตรา 6
3. หมวด2
การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน มาตรา 7-8
4. หมวด3
การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มาตรา 9-19
5. หมวด4
การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของ รัฐ มาตรา 20-26
6. หมวด5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน มาตรา 27-32
7. หมวด6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ มาตรา 33-36
8. หมวด7
การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน มาตรา 37-44
9. หมวด8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ มาตรา 45-49
10. หมวด9 บทเบ็ดเตล็ด มาตรา 50-53
5.วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกอบอะไรบ้าง
เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
6.หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ
ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรี
7.หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลากี่วัน
หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
8.แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น
กำหนดให้จัดทำแผนกี่ปี
แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น กำหนดให้จัดทำแผนสี่ปี
โดยนำนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภามาพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
อย่างน้อยจะต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน
ส่วนราชการหรือบุคคลที่จะรับผิดชอบในแต่ละภารกิจ ประมาณการรายได้
และรายจ่ายและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ระยะเวลาการดำเนินการ
และการติดตามประเมินผล
9.ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือใคร
ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือ
คณะผู้ประเมินอิสระ
10.การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
ประเมินอะไรบ้าง อธิบาย
คณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ ก.พ.ร.
กำหนด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น